ความเพียงพอ ก็พอเพียง ตามหลักดำเนินชีวิต ที่พ่อทิ้งไว้ โดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือความเรียบง่าย ไม่โลภ สุขอย่างพอเพียง ปรัชญาเศรษญกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่สอนให้ลูก ๆ ชาวไทยรู้จักใช้ “วิถีชีวิตพอเพียง” เพื่อพบกับความสุขอย่างยั่งยืน ได้ผ่านการพิสูจน์มาแล้ว หลายต่อหลายคน หนึ่งในนั้นก็คือ ครูปลา-ชุติมา จักษุมา ที่โล๊ะไร่อ้อยกว่า 6 ไร่เนรมิตตามรอยพ่อหลวงด้วยการทำเกษตรแนวใหม่ และทำให้ครอบครัวพบความสุขอย่างยั่งยืนอย่างทุกวันนี้ เรามาทำความรู้จักกันดีกว่า
ชุติมา จักษุมา หรือครูปลาของเด็ก ๆ ที่ริเริ่มความคิด อยากกินผักปลอดสารพิษ และได้ศึกษาตามสื่อออนไลน์ พร้อมกับเปิดคลิปต่าง ๆ ให้คุณพ่อคุณแม่ดูเรื่อยๆ จนท่านเปิดใจ และอนุมัติให้โล๊ะไร่อ้อยทิ้งมาทำเกษตรแบบพอเพียงในพื้นที่กว่า 6 ไร่
“ เดิมทีครอบครัวเราทำเกษตรแบบเชิงเดียวคือปลูกไร่อ้อยค่ะ ทำทีเดียวสบายทั้งปี แต่จะกินอะไร เราต้องซื้อตลอด จึงเริ่มทดลองขอตากับยาย(พ่อแม่) อยากลองปลูกผักสวนครัว 1 ไร่ โดยที่เราไม่ใส่สารเคมีอะไรเลย และเป็นไปได้ทิศทางที่ดี จึงตัดสินใจทำทั้งหมด 6 ไร่”
หลังจากตกผลึกทางความคิด และอยากเดินตามรอยพ่อหลวง ครูปลาจึงเริ่มหันสู่ชีวิตใหม่ ด้วยการมาทำเกษตรกร แม้ว่าช่วงนั้นจะไม่มีความรู้เรื่องการทำเกษตรเลย จึงติดต่อกับรุ่นพี่ที่มีความรู้ โคกหนองนากำแพงเพชร และได้แนะนำให้รู้จักกับอ.บุญล้อม ท่านได้ออกแบบโคกหนองนาให้ ร่วมกับไอเดียสระรูปหัวใจที่ตนอยากได้ โดยมีความลึก 3 เมตร ส่วนคลองไส้ไก่มีความลึก 2 เมตร เพื่อเก็บกักน้ำบาดาล ให้เพียงพอหล่อเลี้ยงกับการทำสวนครั้งนี้
เมื่อถามถึงต้นทุนที่ทำ ครูปลาบอกว่า “ ต้นทุนในการขุดบ่อเราใช้เวลา 5 วันค่ะ ลงทุนประมาณ 53,000 บาท ใช้เวลาปลูกพืช 1 ปีเต็มจนเกิดเป็นรอยชัดเจนอย่างทุกวันนี้ แนวคิดที่เลือกใช้คือ ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก เราเริ่มจากสิ่งใกล้ตัวเราก่อนที่ทำได้ค่ะ โดยมีคุณตาคุณยาย พ่อแม่ของปลาเอง คอยดูแล สวนตอนเช้าเราก็จะไปดูแลเด็ก ๆ หลังเลิกงานก็จะมาดูแลสวน ทำแบบนี้เป็นกิจวัตรทุกวัน ซึ่งมีความสุขมากค่ะ”
พื้นที่ส่วนใหญ่จะใช้วิธีนำหญ้าฝางมาหุ้ม เพื่อให้ธรรมชาติดูแลธรรมชาติ เราจะได้หน้าดินที่ชุ่มชื่น ส่วนปุ๋ยจะใช้มูลสัตว์คือควายที่เราเลี้ยงไว้ นำมาแทนปลูก โดยนำหญ้าฝางหุ้มแล้วใส่ปุ๋ยมูลสัตว์และหุ้มฝางอีกที ซึ่งผลลัพธ์คือพืชผักในสวน เจริญงอกงามดี และที่สำคัญ ปลอดสารพิษอีกด้วยค่ะ
ส่วนพืชผักโคกหนอกตากะยายที่ปลูก จะมีพวกมะเขือ พริก ฝักทอง กะเพรา ผักต่าง ๆ ที่เรากิน ในสระก็จะมีปลา เราเลี้ยงเป็ดไว้กินไข่ เลี้ยงปลาไว้กินเนื้อ เลี้ยงสัตว์ไว้นำมูลสัตว์มาทำปุ๋ย ถ้าถามว่า คุ้มไหมกับสิ่งที่ทำมาในวันนี้ ต้องบอกเลยค่ะว่า คุ้มมากกกกกกก เพราะเหนือกว่ารายได้ที่ได้รับตลอดทั้งปี ได้กินอาหารปลอดสารพิษ นั้นคือรอยยิ้มของครอบครัว ตากับยาย และคนอื่น ๆ มีความสุขมาก ได้ออกไปเก็บไข่ ปลูกผัก รดน้ำทุกวัน เหมือนได้ออกกำลังกายไปด้วย นี่ละโครตจะคุ้มแล้วค่ะ
ส่วนการขุดออกแบบ จะเน้นให้สโลป ให้เข้ากับธรรมชาติเพราะธรรมชาติไม่เป็นเส้นตรงค่ะ จึงสร้างออกมาเพื่อให้เหมาะกับธรรมชาติ เพื่อที่ปลาจะวางไข่กันได้รวมถึงดูทิศทางลมและแสง โดยให้อาจารย์ช่วยออกแบบให้เหมาะทิศทางลมและแสง นอกจากนี้ยังปลูกหญ้าแฝกกั้นคันน้ำ เพื่อไม่ให้ชายฝั่งเซาะ ส่วนการปลูกพืช สลับหมุนเวียนกันไป ไม่ว่าจะเป็นกล้วย น้อยหน่า ขนุน
มีการทำซุ้มเป็ดแซนวิชปลา โดยใช้แฝกหุ้มและใส่มูลสัตว์และใช้ฝางห่มใส่มูลสัตว์อีกที สลับเป็นชั้น ๆ กันไป
ส่วนดินจากการขุดหนองนี้ ก็จะนำมาถมเป็นโคก เพื่อเป็นทางเดิน ที่อยู่อาศัย ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์รวมทั้งปลูกต้นไม้ เดินตามแนวศาสตร์พระราชาคือ“ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” เพื่อให้อยู่พอกิน
หนองที่ขุดที่ใช้เป็นแหล่งเก็บน้ำ และที่อยู่อาศัยของปลาจะคดโค้ง เป็นอิสระ ไม่เป็นสี่เหลี่ยมค่ะ เพื่อให้เรามีน้ำใช้ในยามแล้งหรือยามจำเป็น และสามารถรองรับน้ำท่วมได้ สุดท้าย อยากฝากไว้สำหรับใครที่อยากใช้ชีวิตสุขสำเร็จแบบนี้ แนะนำให้ ททท ทำทันที ศาสตร์พระราชาคือทางรอด ขอแค่ตั้งใจทำค่ะ
แกะโมเดล “โคก หนอง นา โมเดล”
โคก หนอง นา โมเดล เป็นการออกแบบพื้นที่ชีวิตที่เข้ากับวิถีชีวิตคนไทย ตามต้นแบบที่สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง และมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติได้ นำพระราชดำรัช ร.9 ในเรื่องความพอเพียงและการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่เกษตร โดยหลัก ๆ จะมุ่งเน้นที่ 30 : 30 : 30 : 10
แหล่งน้ำ 30 เป็นการขุดบ่อทำหนองและการคลองไส้ไก่ เพื่อช่วยระบายน้ำรอบพื้นที่
ปลูกข้าว 30% ไว้ทำโคกหรือป่า โดยปลูกผักไว้เป็นอาหาร ปลูกไม้ใช้สอย ปลูกยาสมุนไพร
10 %ที่เหลือ สำหรับอยู่อาศัยเลี้ยงสัตว์
หากทำเช่นนี้จะแก้ปัญหาโลกร้อนและลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้
การบริการจัดการน้ำ โคก หนอง นา
ตามที่พระบาทสมเด็จ เด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงได้รับสั่งไว้ว่า “น้ำคือชีวิต” ดังนั้นความพิเศษของโคก หนอง นาโมเดล คือการวางแผนเก็บน้ำไว้ใช้ตลอดทั้งปี สามารถน้ำมาใช้ประโยชน์ในสวนได้ หากทำได้แบบนี้จะช่วยลดการย้ายถิ่นของประชากร ไม่ต้องมาแออัดในเมืองหลวง
ดังนั้นการวางแผน โคก หนอง นา โมเดล จึงต้องคำนวณให้ดี ๆ ทั้งด้านการระเหยของน้ำ การใช้น้ำ การบำบัดน้ำ น้ำที่ได้มา ต้องมาวางแผนผลิต รวมถึงเรื่องการปรับปรุงดิน นอกจากนี้ยังต้องปรับหัวคันนาให้สูงถึง 2 เมตร เพื่อสร้างแหล่งกักเก็บน้ำ เพื่อไว้ปลูกข้าว รวมถึงการปลูกพืชหมุนเวียน ทั้งแบบระยะสั้น ระยะยาว การเลี้ยงปลาเลี้ยงเป็ด โดยใช้พลังจากชีวมวลมาหมุนเวียนในโคกหนองนา และเมื่อฝนตกลงมาจะไหลเข้าหนอง สัตว์น้ำที่อาศัยจะวางไข่ในพื้นที่ได้ปลอดภัย และส่งผลในเรื่องของรายได้ตามมานั่นเอง
สามารถเข้าเยี่ยมชม หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โคกหนองนาตากะยาย หมู่ 5 บ้านวังตอยาง ตำบลเขากวางทอง อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี 097 969 4522