หลวงพ่อคูณ เจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมานั้น ชีวิตในวัยเยาว์ท่านเกิดเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2546 แรม 10 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน ณ บ้านไร่ หมู่ 6 ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทดเอกนครราชสีมา มารดาชื่อนายบุญฉัตรพลกรัง มารดาชื่อนางทองขาว ฉัตรพลรัง มีพี่น้องร่วมบิดามารดาด้วยกัน 3 คน คือ1.หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ 2 นางคำมั่น กาญจนรัตน์ 3 นางทองหล่อจันทร์
เข้าพรรษา บวชเรียน
เมื่อปี 2477 อายุได้ 11 ปี บิดาของท่านได้นำไปฝากเป็นศิษย์กับวัดบ้านไร่ เนื่องจากมาดาของท่านได้เสียชีวิตลง โดยมีพระอาจารย์ฉษย กิตติญโญ และพระอาจารย์หลี อารกขยโย ครูภาษาไทยและภาษาขอมได้รับเป็นศิษย์ และได้อุปสามบท เมื่ออายุครบ 21 ปี ที่พัทธสีมาวัดถนนหักใหญ่ ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด นครราชสีมา ต่อมาได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อแดง ชินบุตโต วัดบ้านหนองโพธิ์ ตำบลสำนักตะคร้อ อำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา และหลวงพ่อคง พุทธสโร วัดถนนหักใหญ่ ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุดทด จังหวัดนครราชสีมา หลังจากที่หลวงพ่อคูณอุปสมบทเป็นพระภิกษุเรียบร้อยแล้ว
ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อแดง วัดบ้านหนองโพธิ์ ตำบลสำนักตะคร้อ อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา โดยหลวงพ่อคูณ ได้อยู่ปรนนิบัติรับใช้หลวงพ่อแดงมานานพอสมควร หลวงพ่อแดงจึงพาหลวงพ่อคูณไปฝากตัวเป็น ลูกศิษย์หลวงพ่อคง พุทธสโร ซึ่งหลวงพ่อทั้งสองรูปนี้ เป็นเพื่อนกันต่างให้ความเคารพซึ่งกันและกัน เมื่อมีโอกาสได้พบปะ มักแลกเปลี่ยนธรรมะ ตลอดจนวิชาอาคมแก่กันเสมอ ต่อมาหลวงพ่อคูณเริ่มออกธุดงค์ในป่า จนธุดงค์ไปถึงประเทศลาว กัมพูชา จนพิจารณาว่าสมควรแก่การปฎิบัติแล้ว ท่านจึงออกเดินทางจากประเทศกัมพูชาสู่ประเทศไทย ถึงบ้านเกิดที่บ้านไร่ จังหวัดนครราชสีมา
นอกจากนี้หลวงพ่อคูณ ท่านยังได้เรียนหนังสือกับพระสงฆ์ โดยมีพระอาจารย์ หลี อารกฺขยโย พระอาจารย์ เชื่อม วิรโช พระอาจารย์ ฉายา กิตฺติปญฺโญ ทั้งสามรูปล้วนแต่เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ โดยพระอาจารย์ หลี ได้สอนภาษาไทย ภาษาขอม ซึ่งท่านเป็นครูที่เข้มงวดมาก จนเมื่ออายุ 16 ปี ได้ออกจากวัดบ้านไร่ โดยอาศัยอยู่กับน้าสะใภั ชื่อน้อย ศิลปะชัย หลวงพ่อคูณได้ช่วยน้าทั้งสองทำไรทำนา อย่างขยันขันแข็ง จนเผลอหลับกลางคันนา
หลวงพ่อคูณเริ่มทำวัตถุมงคล ปี 2493 ใช้คาถาในการปลุกเสก “มะอะอุ นะมะพะธะ นะโมพุทายะ พุทโธ ยานะ”
วัตถุมงคลของหลวงพ่อคูณที่เป็นที่นิยมมากคือเหรียญหลวงพ่อคูณรุ่นแรก สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2512 นับเป็นจุดเริ่มต้นที่กระจายความศรัทธาไปทั่วประเทศ และมีรุ่นอื่น ๆตามมามาย ทำให้ความต้องการวัตถุมงคลของหลวงพ่อคูณลดความนิยมลงในช่วง 10 ปีให้หลัง แต่ถึงราว พ.ศ. 2532 วัตถุมงคลบางรุ่นมีปริมาณจำกัด ทำให้เกิดความตื่นตัวสะสมขึ้นมาอีกครั้ง
และโด่งดังในวงการ “พระเครื่อง” ในปี 2536 เมื่อเกิดอุบัติภัยร้ายแรง 2 ครั้ง เพราะผู้ที่รอดชีวิตต่างมีวัตถุมงคลของหลวงพ่อคูณ วัดเกาะแก้วอรุณคาม จังหวัดสระบุรี จัดสร้างวัตถุมงคลของหลวงพ่อคูณรุ่น “เฮงคูณเฮง” หลายรูปแบบ ทั้ง เหรียญ, ล็อกเกต, รูปหล่อ, แผ่นดวง ฯลฯ เพื่อหาเงินสนับสนุนการสร้างอุโบสถ และที่วัดโคนอน เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ก็จัดสร้างวัตถุมงคลที่หลวงพ่อคูณปลุกเสก เพื่อนำเงินมาสร้างหอฉันของวัด
หลวงพ่อคูณเตือนย้ำอยู่เสมอว่า
“เมื่อมีพระเครื่องของกูติดตัว ให้ภาวนาพุทธโธ ทำจิตให้เป็นสมาธิแน่วแน่ ละเว้นถ้อยคำด่าทอ ด่าพ่อแม่ตน และพ่อแม่คนอื่น อย่าผิดสามีภรรยาผู้อื่น และให้สวดมนต์ก่อนเข้านอนทุกคืน ไม่ว่าอยู่ที่ใด”
นอกจากเหรียญหลวงพ่อคูณแล้วยังมีวัตถุมงคลประเภทอื่นอีก เช่น ผ้ายันต์, ผ้ายันต์ชายธง, โปสเตอร์ภาพเหมือน, ตะกรุด, พระปิดตา, ผ้ารองเท้าปลุกเสก, ล็อกเกต, ลูกประคำ, เขี้ยวเสือ ฯลฯ สำหรับผ้ายันต์ของหลวงพ่อคูณรุ่นแรกนั้น สร้างเมื่อ พ.ศ. 2520 เป็นผ้ายันต์ที่ระลึกในงานผูกพัทธสีมา วัดหนองบัวทุ่ง จังหวัดนครราชสีมา
และหลวงพ่อคูณยังเคยให้คำสอนไว้ด้วยว่า “วัตถุมงคลเหมือนเปลือกไม้ หากผ่านเปลือกไม้ไปได้ท่านก็จะถึงแก่น ซึ่งการฝ่าเปลือกไม้ไปได้ ท่านต้องรู้จักให้ทาน”